Human Potential
Dustbin
(ถังขยะแห่งศักยภาพของมนุษย์)
การศึกษาจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเปิดศักยภาพอันเป็น แหล่งพลังงาน
อันมั่งคั่งของสังคมเรา
การแยกจิตใจออกจากร่างกายจะทำให้ความสามารถ ของมนุษย์เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ
เช่น การรับรู้ การสร้างมโนคติและ ความสามารถในการสร้างสรรค์
ความกระหายใคร่รู้
ความกระตือรือร้นมากมายที่จะเรียน รู้ในวัยเด็กเข้าเรียนจนถึงวัยทีนจะถูกบั่นทอนลงอย่างช้า ๆ
เนื่องจาก ในช่วงระยะเวลานี้ เด็กถูกจัดให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างเข้มงวด
ไม่ ยืดหยุ่น
แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียศักยภาพของมนุษย์
และอีก ประการหนึ่งที่จะทำให้ความรู้สึกไม่ว่องไวคือความรู้ลึกซึ้งทาง เทคโนโลยีเร็วไป
จะทำให้เด็กไม่สามารถตีความเป็นจริงโดยใช้ ความรู้สึกในหลากหลายทางได้
ดังนั้น จีน อุสตัน
กล่าวไว้ว่า “ความสามารถในการ ตระหนักรู้ถึงประสบการณ์ ด้านความรู้สึกมีความสำคัญยิ่งในการ พัฒนาความหมาย”
กระบวนการเรียนรู้แบบเดิม ๆ
ก็เปรียบเสมือน
โรงเรียน เป็นถังขยะที่ท่วมท้นไปด้วยศักยภาพอันซ่อนเร้นของมนุษย์เหมือน กับว่าเด็ก ๆ
คงยังไม่สามารถกลายเป็นคนที่เกิดมา เพื่ออยากจะ เป็นและพัฒนาสูงสุด ซึ่ง จีน
ฮุสตัน เรียกว่า “จิตสำนึกที่คับแคบ อย่างยิ่ง” (The
extremely limited consciousness)
จากหนังสือการศึกษาแห่งโลกไร้พรมแดนแปลจาก Global
Teacher, Global Learner ของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
นางสุจิตรา โตตาบ
ผู้อำนวยการโรงเรียนประสาทวิทยานนทบุรี
คาดหวังว่า “อยากเห็นแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ที่สามารถยกระดับ คุณภาพการเรียนรู้ของเด็กไทย" โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายขับ เคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
มีจุดเน้นที่พัฒนา คุณภาพผู้เรียนให้รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา มีกระบวนการคิดเป็น วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการปลูกฝังเยาวชนให้เติบโต เป็นคนดีมีความสุข และเป็นพลเมืองดีในสังคม การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วย การทดลองแบบลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on)
จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถ พัฒนาทักษะกระบวนการคิดได้ดีเป็นอย่างยิ่ง สอดคล้องกับนโยบาย การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน และการบริหารจัดการศึกษาให้มี มาตรฐานสากล
สำหรับดิฉันในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน
สามารถส่ง เสริมให้เกิดแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ได้ โดยเน้นจุดประกายให้เด็กรัก วิทยาศาสตร์ โดยจัดเป็นศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ "Omiles"
(กระบวนการเรียนการสอนแบบพหุปัญญา และ เรียนตามความ สนใจ ตามความถนัด)
ใช้การทดลองแบบ Hands-on
ตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษา
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือสื่อและวิธีการ เรียนการสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
ด้วยกระบวนการเรียน แบบปฏิบัติจริงและสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันเราเปลี่ยนแปลง การสอนแบบดั้งเดิมสู่การสอนแบบใช้คำถาม สืบค้นหาความรู้ด้วย ตนเอง ฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะ สามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(Constructionism) จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่ฝังแน่น
สามารถใช้ใน การดำรงชีวิตเราเรียกนวัตกรรมการเรียนรู้ในแบบของเราว่า QASC (Questions/Activities/Skills/Concept)
วิธีนี้เองที่สามารถ ประเมินการเรียนรู้แบบประเมินระหว่างเรียนรู้ ประเมินตามจริง (Authentic Learning
and Assessment) ด้วย
Process
อย่าง เหมาะสมและพัฒนาศักยภาพสูงสุดของเด็กได้อย่างแท้จริง
|